Spam Lead คืออะไร? จัดการอย่างไรดี?
บทความน่าอ่าน
Spam Lead ไม่ใช่ไวรัสจึงไม่เป็นอันตรายกับระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ก็มีผลกระทบกับแคมเปญของเราเช่นกัน…Spam Lead คืออะไร? และเราจะจัดการกับมันอย่างไรดี? บทความนี้มีคำตอบ
สำหรับคนที่ทำแคมเปญ Lead Generation…คุณเคยประสบปัญหาเหล่านี้หรือไม่?
ได้รับ Lead ที่เป็นชื่อบุคคลเดียวกันซ้ำ ๆ กรอกข้อมูลมาในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน
ได้รับ Lead ที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง ไม่สามารถติดต่อกลับได้
ได้รับ Lead ที่ลงทะเบียนโดยแอบอ้างชื่อและข้อมูลของบุคคลอื่น
ได้รับ Lead ที่เมื่อเซลติดต่อกลับไป กลับต้องการขายสินค้าหรือบริการบางอย่างให้เราซะงั้น
ถ้าคุณเจอปัญหาเหล่านี้ สันนิษฐานได้ว่าแคมเปญของคุณมี Spam Lead เข้ามาแอบแฝง
Spam Lead คืออะไร?
ปกติเวลาทำแคมเปญ Lead Generation เราจะแบ่ง Lead ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
Qualified Lead คือ lead คุณภาพที่พร้อมจะเป็นลูกค้าของเรา และ Unqualified Lead คือ lead ที่มีคุณภาพต่ำ ซึ่ง spam lead ก็จัดเป็นหนึ่งใน lead ประเภทนี้ด้วย
ทั้งนี้ แต่ละเอเจนซีอาจจะจำกัดความคำว่าสแปมต่างกัน สำหรับเรา Spam lead คือ
- Lead ที่ให้ข้อมูลเท็จ
- Lead ที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้
- Lead ที่แอบอ้างข้อมูลของบุคคลอื่นมาใช้ลงทะเบียน
Spam Lead มาจากไหน?
เราสามารถแบ่งสแปมออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
Bots – แฝงมาใน website หรือ landing page ที่มีการเปิดให้ comment หรือมีแบบฟอร์มลงทะเบียน
Social Network Bots – พบได้บน social network เช่น Facebook, Twitter, Instagram ฯลฯ bots พวกนี้จะสร้าง account ปลอมขึ้นมาจำนวนมากเพื่อปั่น Traffic, แชร์ หรือโพสต์อะไรบางอย่าง
Human – คือคนจริง ๆ นี่แหละ ที่กรอกข้อมูลเท็จเข้ามา เพื่อหวังผลบางอย่าง
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Lead ไหนคือสแปม ?
เราสามารถตั้งข้อสงสัยว่า Lead นั้น เข้าข่ายเป็นสแปมหากมีลักษณะดังต่อไปนี้
- เป็น Lead ที่กรอกแบบฟอร์มเข้ามาซ้ำ ๆ ด้วยข้อมูลเดิม
- เป็น Lead ที่ให้ข้อมูลปลอม (จะรู้ก็ต่อเมื่อเราติดต่อกลับไป)
- เป็น Lead ที่มี IP addresses ตรงกับฐานข้อมูล bot database
- เป็น Lead ที่ให้ข้อมูลคล้าย ๆ หรือเหมือนกัน โดยติดต่อเข้ามาในหลายช่องทางพร้อม ๆ กัน หรือในช่วงระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน
Spam Lead เป็นอันตรายกับแคมเปญของเราหรือไม่?
สแปมเหล่านี้ไม่ใช่ไวรัสจึงไม่เป็นอันตรายกับระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ก็มีผลกระทบกับแคมเปญของเรา เช่น
บริษัทเจ้าของแคมเปญ
อาจรู้สึกรำคาญใจ เพราะได้รับ Lead รายเดิมที่กรอกข้อมูลเข้ามาซ้ำ ๆ
เสียเงิน/เสียเวลา ในการติดต่อกลับ
ผู้บริโภคทั่วไป
อาจได้รับการติดต่อจากธุรกิจที่ตัวเองไม่ได้สนใจ เพราะโดนแอบอ้างข้อมูล
เราสามารถหยุดสแปมได้อย่างถาวร หรือทำให้เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายได้หรือไม่ ?
สแปมเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มมีอินเทอร์เน็ต โดยพบครั้งแรกในรูปแบบของ Spam mail ต่อมาเมื่อมี HTML Forms เกิดขึ้น ก็มีสแปมรูปแบบอื่น ๆ ตามมา ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่หลาย ๆ บริษัทโดยเฉพาะในวงการไอทีได้ต่อสู้กับมันมาเป็นเวลานาน และปัจจุบันแทบทุกประเทศก็ได้ประกาศให้สแปม เป็นสิ่งผิดกฎหมาย (ในไทยมีระบุไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560)
Heroleads มีการรับมือกับ Spam Lead อย่างไร?
ทุกธุรกิจที่ทำแคมเปญการตลาดออนไลน์มีโอกาสจะถูก Spam ก่อกวนได้ สำหรับ Heroleads เองเราก็ให้สำคัญกับการพัฒนาการจัดการ Spam มาโดยตลอด เพื่อลดผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับแคมเปญออนไลน์ของเรา เพื่อให้เราสามารถส่งต่อ Lead ที่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าให้ได้มากที่สุด
วิธีการจัดการ spam Lead ของเราคือ เรามีการเขียน code เพื่อดักจับ spam lead จากอีเมลหรือเบอร์โทรศัพท์ และ block ไม่ให้Spamชุดนี้กลับมาอีก รวมถึงมีระบบในการตรวจสอบ bots network และจัดการ block ในระดับของ IP Address ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ เรายังมี
- ทีมงานที่คอยมอนิเตอร์ เฝ้าระวัง และตรวจสอบ lead ที่เข้าข่ายว่าเป็นสแปม
- Dashboard ที่สามารถมอร์นิเตอร์หลายแคมเปญได้พร้อมกัน ในกรณีที่สแปม นั้นเข้ามาก่อกวนในหลายแคมเปญ ทำให้การตรวจสอบและเฝ้าระวังเป็นไปอย่างแม่นยำและกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
ณ ปัจจุบันแคมเปญที่ Heroleads ดูแล มีจำนวนสแปมอยู่ในระดับที่น้อยมาก และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของแคมเปญทั่วไปในธุรกิจนี้
อย่างไรก็ตาม เรายังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบการตรวจจับสแปมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้จำนวนของ Spam lead อยู่ในระดับต่ำสุดเท่าที่เราจะสามารถทำได้ และส่งต่อ Lead ที่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าของเราให้ได้มากที่สุด