RLSA คืออะไร? อีกขั้นของการตลาดออนไลน์สำหรับดีลเลอร์รถยนต์

Heroleads

หนึ่งในดิจิทัลโซลูชันสำหรับธุรกิจยานยนต์ที่น่าสนใจในตอนนี้ คือเครื่องมือที่เรียกว่า “RLSA”…ใครที่สงสัยว่า RLSA คือ อะไร? ลองอ่านบทความด้านล่าง เราจะอธิบายให้ฟังแบบชัด ๆ สั้น ๆ แบบจบแล้วลงมือทำได้เลย

 

Heroleads เราใช้กลยุทธ์ RLSA ช่วยให้แคมเปญการตลาดออนไลน์ของลูกค้าประสบความสำเร็จ หนึ่งในเคสที่น่าสนใจคือแคมเปญออนไลน์ของ Volvo MW Motor One ที่เราช่วยเพิ่ม ROI ได้มากกว่าเป้าหมายถึง 120%  และ KPI สำเร็จเกินเป้าถึง 300%

มาทำความรู้จักกันก่อน!

RLSA คืออะไร?

RLSA หรือ Remarketing List for Search Ads คือ การทำโฆษณาบน Google ที่ช่วยให้แคมเปญ Search Ads ของเรามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการพุ่งเป้าไปยังกลุ่มคนที่เคยเข้ามาดูเว็บไซต์ของเราโดยตรง 

RLSA ต่างจากการทำ Remarketing แบบอื่น ๆ อย่างไร?

อธิบายง่าย ๆ อย่างนี้ครับ Remarketing บน Display Network หรือ GDN Remarketing จะเป็นแบนเนอร์ที่ติดตามกลุ่มคนที่เคยเข้ามาใช้งานเว็บไซต์ของเราเวลาที่พวกเขาไปเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เป็นเครือข่ายของ Google ส่วนโฆษณา RLSA จะปรากฎให้เห็นบนหน้าแสดงผลการค้นหาของ Google เมื่อคนๆ นั้น เข้าเว็บไซต์ของเราแล้วกลับมาเสิร์ซหาข้อมูลด้วยคีย์เวิร์ดที่เราเลือกซื้อไว้อีกครั้ง

 

ตัวอย่างนะครับ นาย A ต้องการซื้อรถใหม่เลยเข้าไปเสิร์ซ Google แล้วก็เจอเว็บไซต์ของคุณเลยคลิกเข้าไปดู ถ้าคุณทำ RLSA  แคมเปญ เมื่อนาย A ออกจากเว็บและเข้า Google ไปเสิร์ซหาข้อมูลเพิ่ม พวกเขาจะเจอโฆษณารถยนต์ของคุณในผลการค้นหาอีก หากว่าคีย์เวิร์ดที่ค้นหานั้น ตรงกับคำที่คุณซื้อไว้ 

 

ทำไม RLSA จึงสำคัญกับดีลเลอร์รถยนต์?

ต้องยอมรับนะครับว่า “รถยนต์” เป็นสินค้าราคาแพงที่คนซื้อต้องใช้เวลาในการตัดสินใจค่อนข้างนาน ดังนั้นไม่ว่าสินค้าของคุณจะดีเยี่ยมแค่ไหน ก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อในทันที ยิ่งในตอนนี้ที่การแข่งขันระหว่างดีลเลอร์ต่าง ๆ สูงขึ้นทุกวัน คุณไม่สามารถหวังพึ่งแค่ Keywords อย่างเดียวต่อไปได้! 

 

แล้วจะทำยังไงดี? ลองมาดู 3 เทคนิคทำ RLSA ให้ได้ผลคุ้มยิ่งกว่าคุ้มกันครับ

 

1. เลือกลงทุนเฉพาะกับ “คนที่ใช่” !

การทำแคมเปญการตลาดเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก แต่จะไม่ทำก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องหาวิธีการที่ลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้ผลตอบแทนมากที่สุด! RLSA เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะมันทำให้เราใช้เงินไปกับคนที่มีแนวโน้มความสนใจ เพราะเคยเข้ามาดูเว็บไซต์ของเราเท่านั้น ไม่ใช่การซื้อโฆษณาแบบเหวี่ยงแห ซึ่งแน่นอนว่า โอกาสที่คนกลุ่มนี้จะตัดสินใจซื้อย่อมมีมากกว่า ฟังดูน่าสนใจใช่ไหมล่ะ?

 

2. เลือก “คีย์เวิร์ด” ให้โดน!

การ bidding หรือแข่งขันกันประมูลราคาคีย์เวิร์ดทั่ว ๆ ไปที่คนนิยมใช้กัน เป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่ไม่ได้การันตีว่า คนที่คลิกเข้าเว็บไซต์มาจากคีย์เวิร์ดเหล่านี้สุดท้ายแล้วเราจะปิดการขายได้ไหม แต่ RLSA ทำให้เราเบาใจได้ระดับหนึ่ง เพราะเป็นการประมูลเฉพาะกลุ่มคนที่เคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์รถยนต์ของเราเท่านั้น ซึ่งคนกลุ่มนี้มีโอกาสที่จะเป็นลูกค้ามากกว่า

 

ตัวอย่าง: ลูกค้าเข้ามาดูข้อมูลรถยนต์ Honda Jazz บนเว็บไซต์แล้วออกไป แต่คุณเก็บข้อมูลไว้แล้วว่า ลูกค้าสนใจรถรุ่นไหน แทนที่จะไปแข่งขันกัน bidding ด้วยคำกว้าง ๆ อย่าง “รถยนต์ Honda” ก็เลือกคีเวิร์ดไปเลยว่า “รถยนต์ Honda Jazz” โฆษณาของเราก็จะแสดงผลให้คนที่เคยเข้าเว็บไซต์มาดูรถรุ่นนี้เท่านั้น ซึ่งคนกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าง่ายกว่าคนใหม่ ๆ ที่เข้าเว็บไซต์เป็นครั้งแรก

 

3. ดึงดูดลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยเข้าเว็บไซต์มาก่อน! 

หลักการทำงานของ RLSA มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน หนึ่งคือคน ๆ นั้นต้องใช้คีย์เวิร์ดที่เราเลือก “และ” ต้องเคยเข้าเว็บไซต์เรามาก่อน สองคือ เขาใช้คีย์เวิร์ดที่เราเลือก “หรือ” เคยเข้าเว็บไซต์เราแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง หมายความว่า แม้คนนั้น ๆ จะยังไม่เคยเข้าเว็บไซต์ เมื่อค้นหาคีย์เวิร์ดที่เราเลือกลงโฆษณาไว้ ก็จะแสดงโฆษณา 

 

การใช้ชื่อแบรนด์เป็น Keyword ในกรณีนี้ เป็นหนึ่งในวิธีที่ได้ผลดีในการดึง Traffic เข้าเว็บไซต์ (หรือแม้แต่สร้าง conversion) ตัวอย่างแบรนด์ที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ เช่น Intel และ Zendesk ซึ่งสามารถเพิ่ม conversion rate ได้ถึง 30%

 

Bonus Tip

ตอนนี้แพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้พัฒนาเครื่องมือโฆษณาออกมาหลากหลายรูปแบบ ไม่แปลกครับที่คุณจะจับทางไม่ถูกและเริ่มสับสน เพื่อให้ง่ายขึ้นนะครับ ลองถามตัวเองดูว่า เป้าหมายในการทำโฆษณาของเราคืออะไร ถ้าต้องการโฟกัสกับลูกค้าที่มีแนวโน้มว่าจะซื้อรถแน่ ๆ RLSA คือคำตอบของคุณแน่นอนครับ

 

สำหรับหลาย ๆ เหตุการณ์เราอาจจะมีโอกาสเพียงหนึ่งครั้ง ทันทีที่ลูกค้าก้าวเท้าออกจากร้าน หมายถึงการต้องนับ 1 กับลูกค้าคนใหม่ แต่ RLSA คือการสร้างโอกาสครั้งที่ 2 ให้กับธุรกิจ เพราะฉะนั้นอย่าปล่อยให้โอกาสนี้หลุดมือไปครับ ถ้าคุณไม่เก่งเรื่องออนไลน์ และไม่มั่นใจว่าจะคว้าโอกาสนี้ไว้ได้ไหม  ผู้ช่วยของคุณอยู่ ที่นี่! 

 

ปรึกษาเรา

Kalyakorn Maswongssa

Recent posts

SEO-On-Page_Oct-2024-Article-1_Blog

ทำไมหลายบริษัทยังเลือกที่จะทำการตลาดด้วย SEO ?

ทำไมหลายบริษัทย...
TikTok vs. Instagram Reels แพลตฟอร์ม Short Video ไหน ใช่กับธุรกิจ

เปรียบเทียบ TikTok vs. Instagram Reels แพลตฟอร์ม Short Video แบบไหน ใช่สำหรับธุรกิจกว่ากัน !

เปรียบเทียบ Tik...
ทำความรู้จักโฆษณา TikTok แบบเข้าใจง่ายในปี 2024

ตามให้ทันเกม ! ทำความรู้จักโฆษณา TikTok (Tiktok Advertising) แบบเข้าใจง่ายในปี 2024

ตามให้ทันเกม ! ...

ปรึกษาแผนการตลาด
กับผู้เชี่ยวชาญของเรา

กรอกข้อมูลให้เราติดต่อกลับ เพื่อรับคำแนะนำ และ Solution ที่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจคุณ พร้อมข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเริ่มต้นแคมเปญ