4 Step ปั้นยอดขายด้วย Google Analytics
บทความน่าอ่าน
Google Analytic เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซจะขาดไม่ได้ แต่ “แค่มี” ไม่ได้หมายความว่าสินค้าของคุณจะขายดีขึ้นในทันที ดังนั้นบทความนี้จะบอกคุณครับว่า เราจะหาลูกค้า และเพิ่มยอดขายจากการใช้ Google Analytics ได้อย่างไร
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับกระบวนการทำงาน 4 ขั้น หลังได้ข้อมูลจาก Google Analytics กันก่อนครับ
-
- Analyze คือการนำข้อมูลดิบมาวิเคราะห์ เพื่อหา Insight
- Insights คือข้อมูลเชิงลึกที่สามารถต่อยอดได้ เช่น ข้อมูลที่บอกเราว่า แคมเปญตัวไหนเวิร์กหรือไม่เวิร์ก ผลิตภัณฑ์อะไรขายดีที่สุด หรือช่องทางไหนที่ลูกค้าม้กใช้ติดต่อซื้อสินค้า
- Action คือคำแนะนำที่สามารถเป็นไปได้ เช่น โยกงบการตลาดจากแคมเปญที่ผลลัพธ์ไม่ดีไปยังอีกแคมเปญที่ให้ผลดีกว่า หรือจัดโปรโมชั่นฟรีค่าจัดส่งเมื่อซื้อสินค้าถึงยอดที่กำหนด
- Change คือการเปลี่ยนกลยุทธ์ตามคำแนะนำ ซึ่งหลังจากเปลี่ยนแล้วเราก็ต้องมาดูว่า ผลลัพธ์ที่ตามมาเป็นอย่างไร ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นหรือไม่ พูดง่าย ๆ ก็คือวนกลับไปสู่การ Analyze อีกครั้ง
ด้วยกระบวนการแบบนี้ ทำให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพ (Optimise) แคมเปญอยู่ตลอดเวลา และนำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้เรายังมีคำแนะนำจากประสบการณ์บริหารแคมเปญการตลาดออนไลน์ให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ หากคุณต้องการจะ optimise campaign ครั้งต่อไป ลองนำวิธีต่อไปนี้ไปใช้ดูครับ
1. เพิ่มรายได้ โดยการเพิ่ม AOV
วิธีที่จะทำให้ธุรกิจ e-commerce เติบโต คือ 1.เพิ่มจำนวนลูกค้า 2.ทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการอีกครั้ง หรือ 3.เพิ่มมูลค่าคำสั่งซื้อ (AOV)
วิธีการเพิ่ม AOV เช่น ปกติลูกค้าของคุณจะสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ครั้งละไม่เกิน 642 บาท ลองจัดโปรโมชันฟรีค่าจัดส่งเมื่อซื้อครบ 700 บาทขึ้นไป เพื่อเพิ่มมูลค่าคำสั่งซื้อต่อครั้ง วิธีนี้แม้จำนวนลูกค้าจะเท่าเดิม แต่ยอดคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ธุรกิจของคุณก็จะมีรายได้มากขึ้น
2. ลดรายจ่าย ด้วยการบริหารงบโฆษณาให้มีประสิทธิภาพ
ลองใช้ข้อมูลจาก Google Analytic เปรียบเทียบดูครับว่า โฆษณาตัวไหนมี ROAS หรือผลตอบแทนจากการทำโฆษณา (Return of Advertising Spend) สูงที่สุด
ยิ่ง ROAS สูง หมายความว่าโฆษณานั้นทำให้เกิดยอดขายได้ดี หรือลงทุนแล้วได้ผลคุ้มค่า เมื่อรู้ข้อมูลนี้แล้วคุณก็สามารถลดรายจ่าย ด้วยการตัดหรือลดงบโฆษณาในช่องทางที่ให้ผลตอบแทนต่ำออกเสีย
3. เพิ่มยอดสั่งซื้อด้วยการทำ remarketing
เวลาที่ทำ E-commerce Tracking เราสามารถรู้ได้เลยครับว่า หน้าไหนบนเว็บไซต์ที่คนเข้ามาแล้ว drop off หรือออกจากเว็บไปมากที่สุด ถ้าคุณใช้ Google Analytic คุณสามารถเก็บข้อมูลคนที่เข้ามาดูสินค้าแล้วไม่กดสั่งซื้อ หรือลงทะเบียนได้ ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากต่อการทำโฆษณา remarketing กระตุ้นให้คนกลุ่มนี้กลับมาซื้อสินค้า ที่น่าสนใจคือ แคมเปญ remarketing นี้มีค่าใช้จ่ายถูกว่าโฆษณาทั่ว ๆ ไป
ทำโฆษณาครั้งต่อไป ลองทำ remarketing ให้คูปองส่วนลดกับคนกลุ่มนี้ รับรองว่าคุณจะได้ลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
4. ใช้ลูกเล่นใหม่ Dynamic Remarketing
ลองนึกภาพเวลาที่คุณเข้าไปดูสินค้าชนิดหนึ่งบนเว็บไซต์ Lazada แล้วหลังจากนั้นก็มักจะเห็นโฆษณาสินค้านั้น ๆ ตามมาให้เห็นซ้ำ ๆ อีก นั่นล่ะครับคือโฆษณาที่เรียกว่า Dynamic Remarketing
โฆษณารูปแบบนี้มี CPC (cost per conversion) ต่ำกว่าโฆษณาทั่ว ๆ ไป และให้ผลลัพธ์ดีกว่า ดังนั้นจึงสามารถช่วยลดรายจ่าย และเพิ่มยอดให้สินค้าของคุณได้ด้วย
เห็นมั้ยครับว่า Google Analytic ไม่ใช่แค่การติดตั้งบนเว็บไซต์ แต่คุณต้องรู้วิธีใช้ และใช้อย่างมีกลยุทธ์ นี่แหละครับคือหน้าที่ของทีม Web Analysts ของฮีโร่ลีดส์ เราคิด วางแผน ลงมือทำ และให้คำแนะนำเพื่อต่อยอด เพื่อให้ธุรกิจของคุณเติบโตไปได้ไกลที่สุดครับ