ส่องกลยุทธ์แบรนด์ดัง สร้างแบรนด์อย่างไร ให้โตใน ตลาด E-commerce

ตลาด e-commerce, case study

E-commerce ได้ชื่อว่าเป็น Megatrend ธุรกิจดาวเด่นในยุค New Normal  Statista คาดการณ์ว่าในปี 2023 ยอดขายสินค้าใน ตลาด E–commerce ทั่วโลก จะเพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ในปี 2020 กว่า 55% โดยเฉพาะในฝั่งเอเชียนั้นมีแนวโน้มการเติบโตอย่างมาก โดยข้อมูลจาก eMarketer ระบุว่า ยอดค้าปลีกผ่านทาง E-commerce ในฝั่งเอเชียปี 2020 มีสัดส่วนถึงร้อยละ 42.3 ของยอดค้าปลีกทั่วโลก!

สิ่งที่เรามองเห็นไม่ใช่แค่ตัวเลข แต่นี่คือ “โอกาส” สำหรับธุรกิจที่อยากจะเติบโตในตลาดนี้ วันนี้ Heroleads ได้รวบรวมแนวคิดและกลยุทธ์การตลาด จากธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในตลาด E-commerce เพื่อเป็นแนวทางให้ธุรกิจอื่น ๆ ได้ศึกษาและถอดบทเรียนว่า เราจะสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งในตลาด E-commerce ได้อย่างไร ทั้งธุรกิจในกลุ่ม B2B, B2C และ C2C…ไปดูกันค่ะ

OfficeMate : 

E-commerce ไม่ใช่แค่ช่องทางขาย แต่ต้องซิงก์ข้อมูลได้ทั้งระบบ 

OfficeMate ธุรกิจจัดจำหน่ายอุปกรณ์สำนักงานที่ใหญ่ที่สุดในไทย เริ่มต้นจากร้านขายส่งเครื่องเขียนในครอบครัวที่มีหนี้สินถึง 17 ล้านบาท 

หลังเรียนจบ “วรวุฒิ อุ่นใจ” CEO คนปัจจุบัน กู้เงินทุนมาก่อตั้งบริษัท

บริษัท OfficeMate และบริหารจนมีรายได้เป็นหลักสิบล้านบาทต่อเดือน และเกือบจะล้มละลายเพราะวิกฤติต้มยำกุ้ง ก่อนที่เขาจะปรับกลยุทธ์จนบริษัทกลับมามีรายได้เป็นหลักสิบล้านบาทอีกครั้ง

หลังเห็นการเติบโตของช่องทางออนไลน์ OfficeMate ก็ปรับตัวเข้าสู่ Digital Business เสนอขายสินค้าและบริการต่างๆ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ และใช้กลยุทธ์ omnichannel ในการทำธุรกิจ ลูกค้าสามารถเริ่มต้นจากช่องทางออฟไลน์ไปสู่ออนไลฟ์ สินค้าชิ้นใดที่ไม่มีในร้าน ลูกค้าสามารถสั่งผ่าน e-catalog ที่มีสินค้าครบทุกรายการไดั เป็นการปลดล็อกเรื่องแฟรนไชส์ขนาดเล็กที่มีพื้นที่จำกัด และลดต้นทุนได้ 

“หลายคนเข้าใจว่าการมีร้านออนไลน์กับเปิดร้านออฟไลน์เป็น O2O (Online to Offline) แล้ว แต่การเป็น O20 ได้จริงๆ แบบอาลีบาบา หรือ แอมะซอน นั้น คุณจะต้องมีระบบข้อมูลที่ซิงก์กันทั้งระบบ เช่น ลูกค้าซื้อของทางออนไลน์สามารถไปขอคืนที่หน้าร้านได้โดยที่เด็กเฝ้าหน้าร้านไม่งงเพราะมี database ร่วมกัน แบบนี้ถึงจะเรียกว่าเป็น O2O อย่างแท้จริง” 

Pomelo : 

อุดจุดอ่อนร้านค้าออนไลน์ด้วยการสร้าง “ความเชื่อใจ”

ในขณะที่หลาย ๆ ธุรกิจ พยายายามเอาร้านค้าออฟไลน์ไปอยู่บนออนไลน์ Pomelo แบรนด์เสื้อผ้าแบบ fast fashion ที่เกิดจากออนไลน์มาตั้งแต่แรก กลับต้องทำสิ่งที่ตรงกันข้าม นั่นคือการพยายามขยายธุรกิจไปยังออฟไลน์ด้วย เพื่อสร้างประสบการณ์ไร้รอยต่อ และทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าใกล้ชิดกับแบรนด์มากยิ่งขึ้น

“ผมมองว่าสำหรับสินค้าแฟชั่น คนจะต้องการลองสวมใส่และลองสัมผัสวัสดุตัดเย็บก่อนตัดสินใจซื้อ เราจึงมองเห็นโอกาสที่จะดึงลูกค้าสู่ช่องทางออนไลน์ ด้วยการเปิดช่องทางออฟไลน์” 

ตัวอย่างสินค้าบนหน้าเว็บไซต์ Pomelo

David Jou หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Lazada ประเทศไทย ซึ่งลาออกมาตั้งบริษัทใหม่ในชื่อ “Pomelo” เผยถึงแนวคิดในการทำธุรกิจ E-commerce สำหรับแบรนด์สินค้าแฟชั่น ที่เน้นการสร้าง “trust factor” หรือ “ความเชื่อใจ”และมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดในกับลูกค้า ด้วยการมี “หน้าร้าน” ที่ลูกค้าสามารถมาลองสวมใส่ สัมผัสเนื้อหาจริงก่อนตัดสินใจซื้อได้ 

 พร้อมด้วยนโยบายรับคืนสินค้าที่ไม่พอใจภายใน 1 ปี ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากความผิดหวังจากประสบการณ์ซื้อเสื้อผ้าออนไลน์ของตัวเองในอดีต 

แนวคิดแบบนี้เองที่ทำให้ Pomelo มีสัดส่วนลูกค้าซื้อซ้ำราว 65-70% ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับแบรนด์อื่น ๆ 

ปัจจุบัน Pomelo มีร้านค้าออฟไลฟ์และร้านค้าพาร์ตเนอร์ที่เป็นจุดรับและคืนสินค้ามากกว่า 70 สาขาในประเทศไทย  และยังขยายการขายไปอีก 4 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฮ่องกง 

และยังตั้งเป้าจะก้าวเป็น แบรนด์ fast fashion ระดับโลก ที่มีฐานในเอเชีย ให้ได้ภายใน 10 ปี

Shopee : 

มาทีหลังแต่ปังกว่า เพราะกลยุทธ์ที่จากความต้องการของลูกค้า 

ตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปีนี้ Shopee ขึ้นแท่นแพลตฟอร์ม E-commerce  เบอร์ 1 ในประเทศไทย และเบอร์ 1 ในอาเซียน (ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์) ถึงแม้ว่าจะเข้าสู่ตลาด E-commerce ช้ากว่า Lazada ถึง 3 ปี

ตลาด e-commerce, shopee, marketplace

3 กลยุทธ์ที่ทำให้ Shopee ขึ้นมาเป็นผู้นำ

เรื่องแรกคือการเน้นพัฒนาแอปพลิเคชัน เพราะเชื่อว่าลูกค้าในอนาคตจะอยู่ในมือถือ ขณะที่ Lazada เริ่มต้นจากการมุ่งพัฒนาเว็บไซต์ ทำให้เมื่อจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในอาเซียนเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วง 4-5 ปีหลังมากนี้ จำนวนผู้ใช้ shopee จึงเติบโตเร็วตามไปด้วย

สอง การวางตัวเป็น ตลาดกลาง (marketplace) สำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกระบวนการจัดการสินค้าและไม่ต้องมีโกดัง ทำให้ช้อปปี้เติบโตได้ไวกว่าในช่วงต้น

และสาม การให้ความสำคัญกับการให้บริการที่เหมาะกับผู้ใช้ในแต่ละประเทศ หรือ localization เช่น ฟังก์ชันที่แตกต่างกันในแอปพลิเคชันของแต่ละประเทศ หรือการเลือกใช้พรีเซนเตอร์โฆษณาที่เป็นดาราชื่อดังของแต่ละประเทศ ก็ทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ และสร้างความเชื่อถือได้มากกว่า

ตลาด E-commerce ไทยและอาเซียน ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกไกล เราคงต้องดูกันไปอีกยาว ๆ ว่าแต่ละแบรนด์จะมีกลยุทธ์อะไรมาดึงดูดใจลูกค้าและสู้กับคู่แข่งในตลาดอีก 


สำหรับใครที่สนใจเรื่องการทำการตลาดสำหรับธุรกิจ E-commerce แบบนี้ วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 63 Heroleads เราจัดงานสัมมนาในหัวข้อ “เตรียมพร้อมธุรกิจบุกตลาดช้อปปิ้งออนไลน์ พิชิตยอดขาย E-commerce” มาอัปเดตเทรนด์และเครื่องมือการตลาดสำหรับธุรกิจ E-commerce พร้อมรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์แบบตัวต่อตัวได้ ฟรี! ลงทะเบียนเข้าร่วมได้ที่ ลิงก์นี้ เลยค่ะ

Kalyakorn Maswongssa

Recent posts

SEO-On-Page_Oct-2024-Article-1_Blog

ทำไมหลายบริษัทยังเลือกที่จะทำการตลาดด้วย SEO ?

ทำไมหลายบริษัทย...
TikTok vs. Instagram Reels แพลตฟอร์ม Short Video ไหน ใช่กับธุรกิจ

เปรียบเทียบ TikTok vs. Instagram Reels แพลตฟอร์ม Short Video แบบไหน ใช่สำหรับธุรกิจกว่ากัน !

เปรียบเทียบ Tik...
ทำความรู้จักโฆษณา TikTok แบบเข้าใจง่ายในปี 2024

ตามให้ทันเกม ! ทำความรู้จักโฆษณา TikTok (Tiktok Advertising) แบบเข้าใจง่ายในปี 2024

ตามให้ทันเกม ! ...

ปรึกษาแผนการตลาด
กับผู้เชี่ยวชาญของเรา

กรอกข้อมูลให้เราติดต่อกลับ เพื่อรับคำแนะนำ และ Solution ที่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจคุณ พร้อมข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเริ่มต้นแคมเปญ