เจาะสูตรสำเร็จ! เสกคอนเทนต์มัดใจลูกค้าบน TikTok ด้วย ‘3R Framework’
บทความน่าอ่าน
เจาะสูตรสำเร็จ! เสกคอนเทนต์มัดใจลูกค้าด้วย ‘3R Framework’ บน TikTok
หากย้อนเวลากลับไป ช่วงเวลาการแพร่ระบาดโควิด-19 ถือเป็นหมุดหมายสำคัญที่ส่งให้แพลตฟอร์ม TikTok เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยด้วยการสร้างคอนเทนต์บันเทิง (Entertainment Content) คลายเครียดและสร้างสรรค์ หากแต่เมื่อวิกฤตผ่านไป ความนิยมในแพลตฟอร์ม TikTok กลับยิ่งทวีมากขึ้น
แล้วผู้ชมต้องการ ‘ความบันเทิง’ อะไรจาก TikTok
จากการสำรวจพบข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
- คนไทยกว่า 86% ต้องการเสพคอนเทนต์ความบันเทิง
- คนไทยกว่า 85% อยากรู้ว่าตอนนี้สังคมมีเทรนด์อะไรน่าสนใจ
- คนไทยกว่า 88% อยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
- คนไทยกว่า 79% อยากค้นหาแบรนด์หรือสินค้าใหม่ ๆ ที่ตนเองรู้จัก
Source: TikTok commissioned study on user engagement by Nielsen, March 2021
โดยเทรนด์การทำคอนเทนต์บน TikTok ที่กำลังมาแรงคือ Cross Interest ซึ่งคือการสร้างคอนเทนต์ข้ามประเภทคอนเทนต์ของเรา เช่น แบรนด์นีเวีย (Nivea) ซึ่งอยู่ในหมวดเครื่องสำอางทำคอนเทนต์ให้ผู้ชมทายว่าครีมกระปุกไหนเป็นของจริงและครีมกระปุกไหนเป็นเค้ก ซึ่งถือเป็นการ Cross กับคอนเทนต์ในหมวดอาหาร
อ่านถึงตรงนี้แล้วคุณคงอยากเริ่มทำคอนเทนต์บน TikTok แล้วสิ…แต่ถ้ายังไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ลองพิจารณาไอเดียสร้างสรรค์คอนเทนต์แบบฉบับ TikTok ที่เรียกว่า ‘3R Framework’
‘3R Framework’ เพื่อสร้างสรรค์คอนเทนต์โดนใจบน TikTok
หากคุณจะเริ่มทำคอนเทนต์บน TikTok สิ่งที่คุณต้องเตรียมตัวเอาไว้ก่อนเลยคือคุณไม่สามารถทำสื่อตัวเดียวมาลงแล้วปิดจ็อบกลับบ้านได้เลย แต่การทำแคมเปญคอนเทนต์บน TikTok นั้นเราควรมีวีดีโอที่อยู่ในหนึ่งแคมเปญอย่างน้อย 3-5 ชิ้น (หรือถ้ามีมากกว่านั้นก็ยิ่งดี และหนึ่งในนั้นต้องมีวีดีโอสัก 1 ตัวที่ตอบโจทย์ Lower Funnel อย่างการสร้าง Conversion ได้) เพราะธรรมชาติของผู้รับสารบน TikTok จะมองว่าอะไรกำลัง In Trend อยู่ จากการเห็น Content ที่หลากหลาย แต่มี Key Message หรือเพลงเหมือนกัน
แล้วอย่างนี้แบรนด์ต้องสร้างคอนเทนต์ใหม่จาก 0 ขึ้นมาตลอดเลยหรือ ? นั่นเป็นเหตุผลที่ทำไมคุณต้องเรียนรู้ ‘3R Framework’ ของ TikTok
-
- R-Recut
คอนเซ็ปต์ง่าย ๆ ของ Recut คือการนำสื่อเก่าที่คุณมีอยู่แล้วมาปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับแพลตฟอร์ม TikTok
- R-Recut
-
-
- • ปรับวีดีโอจากแนวนอนเป็นแนวตั้ง (Verticalizing) ในสัดส่วน 9:16
- • การ Zoom In ภาพให้เหมาะแก่การเสพแนวตั้งบน TikTok
- • ตรวจสอบ Safe Zone หรือขอบเขตของคอนเทนต์ที่จะปรากฏบนหน้าจอเมื่อเข้าแพลตฟอร์ม สิ่งที่ต้องระวังคือ ข้อความ ระยะห่างระหว่างสื่อกับขอบ การเขียนแคปชันและ Call-to-Action รวมถึงการเผื่อพื้นที่ให้ In-App Icons
- • ปรับคอนเทนต์ให้เป็นรูปแบบ Bite-Sized โดย 6-15 วินาทีแรกควรเป็น Key Message สั้น ๆ ที่พูดถึงประโยชน์ของสินค้าหรือบริการ และภายใน 30 วินาทีควรแสดงรายละเอียด การทดสอบสินค้า รวมถึงความเข้าใจต่อสินค้าเชิงลึก
- R-Remix
หากจะถ่ายทำวีดีโอขึ้นมาใหม่แล้ว การรวมเอาความเป็นแบรนด์เข้ากับธรรมชาติของแพลตฟอร์ม TikTok ถือเป็นไอเดียที่ดีมาก หนึ่งในไอเดียที่น่าสนใจคือการสร้างวีดีโอแบบ Native (วีดีโอที่มีลักษณะเหมือนคอนเทนต์ครีเอเตอร์ทั่วไปเป็นคนสร้างเอง ไม่ได้มี Production อลังการมาก) ซึ่งดูเรียลและน่าเชื่อถือมาก หากยังไม่มีไอเดียก็สามารถจ้าง Content Creator มืออาชีพคนอื่นมาช่วยสร้างคอนเทนต์ได้ ขณะที่การเกาะกระแสหรือวัฒนธรรมกระแสรองต่าง ๆ (Trends & Sub-Culture) ก็อาจช่วยสร้างความใกล้ชิดของผู้รับสารกับแบรนด์ให้มากขึ้นผลการสำรวจจาก KANTAR พบว่าแบรนด์ที่ทำตาม Remix เหล่านี้ มีอัตรา Intent เพิ่มขึ้นกว่า 37% และ Favorability เพิ่มขึ้นกว่า 38% รวมถึงมีอัตรา Engagement & Watchtime เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าด้วยกัน
Source: TikTok Marketing Science Creative Coding Analysis based on 3,500 TikTok ads that ran from 1/1/2021 – 10/1/2021 representing all major verticals, conducted by Kantar, 2022
-
3. R-Reimagine
การสร้างสื่อที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้รับสารมากยิ่งขึ้นผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ TikTok มีไว้เตรียมพร้อมสำหรับการสร้างสรรค์คอนเทนต์ในรูปแบบที่หลากหลาย โดยคุณอาจจะใช้เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) การสร้าง Challenge ของแบรนด์ที่ให้ผู้ชมมาร่วมสร้างคอนเทนต์ (Branded Mission) เอฟเฟ็กต์เกม (Gamified Effects) เพื่อสร้างคอนเทนต์ใหม่ ๆ หรือการไลฟ์สดเพื่อขายของ (Live Shopping) ทั้งหมดนี้ทำเพื่อให้ผู้ชมเข้ามามีบทบาทในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ เพิ่มความเรียลและน่าเชื่อถือให้แก่คอนเทนต์ และยังเปิดโอกาสให้ผู้ชมเข้ามามีปฏิสัมพันธ์แบบเรียลไทม์ได้มากขึ้น
แล้วเราสร้างคอนเทนต์ผ่าน 3R Framework ไปทำไม?
แน่นอนว่าสาวกที่เข้ามาชมคอนเทนต์ของเราบ่อย ๆ เหล่านี้จะกลายเป็นลูกค้ากระเป๋าหนักในอนาคตอันใกล้ จากการสำรวจของ TikTok พบว่า
- ผู้ที่เป็นสาวกคอนเทนต์ของแบรนด์เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ใช่สาวก มีโอกาสมากกว่า 350% ที่จะไปเยี่ยมชมหน้าร้าน Offline ของแบรนด์
- ผู้ที่เป็นสาวกคอนเทนต์ของแบรนด์เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ใช่สาวก มีโอกาสมากกว่า 150% ที่จะซื้อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์
- ผู้ที่เป็นสาวกคอนเทนต์ของแบรนด์เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ใช่สาวก มีโอกาสมากกว่า 57% ที่จะค้นหาข้อมูลของแบรนด์ผ่านโลกออนไลน์
อยากเริ่มสร้างคอนเทนต์แม่เหล็กบน TikTok ต้องทำอย่างไร?
เราอาจแบ่งคอนเทนต์วีดีโอของ TikTok เป็น 3 ช่วงได้แก่ ช่วง Hook (ช่วงที่สร้างอารมณ์ลุ้นและรอคอยให้ผู้ชม) Body (ช่วงให้ข้อมูลและรางวัลแก่ผู้ชม) Close (ช่วงปิดการนาเสนอและพยายามพาผู้ชมไปสู่การซื้อ) สูตรง่าย ๆ ในแต่ล่ะช่วงมีดังนี้
- Hook
ช่วงนี้ต้องดึงดูดความสนใจของผู้ชมให้อยู่หมัดด้วยการเปิด (Introduction) ที่โดน ๆ ใน 2 วินาทีแรกจากนั้นจึงนำเสนอคุณค่าของแบรนด์ (Value Proposition) ที่แตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน ความยาวของวีดีโอที่ดีคือราว ๆ 30 วินาที
- Body
นำเสนอการเล่าเรื่องแบบ Native (การเล่าเรื่องแบบดูเรียล ๆ เหมือนเพื่อนคุยกับเพื่อน) เพื่อให้คนเข้าถึงคอนเทนต์มากขึ้น การนำเสนอสินค้าหรือบริการในเวลามากกว่า 2-5 วินาทีในส่วนนี้ จะช่วยเพิ่มอัตราการชมมากขึ้น แต่ต้องเน้นทางแก้ปัญหา (Solutions) ที่เกิดจากสินค้าหรือบริการมากกว่าการขายแค่คุณสมบัติทั่วไป
- Close
ช่วงนี้ผู้ชมจะเริ่มหลงใหลสินค้าหรือบริการของคุณแล้ว ดังนั้นแบรนด์ต้องแนะนำพวกเขาว่าควรคิด รู้สึก และทำอะไรกับแบรนด์ต่อไป เช่น การใส่ Call-to-Action (CTA) ที่ทรงพลัง เช่น รีบซื้อตอนนี้เพื่อรับส่วนลดไปเลย ซึ่งการปิดที่ดีจะช่วยเพิ่มอัตรา Consideration กว่า 9% ทีเดียว
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากเริ่มทำการตลาดบน TikTok แต่ยังไม่มีไอเดียสร้างคอนเทนต์ Heroleads พร้อมเป็นที่ปรึกษาให้คุณ เราเป็นเอเจนซี่ Independent Digital Media ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่ช่วยลูกค้าทำ Growth Marketing ผ่านเครื่องมือ Paid, Organic, Owned Media, Influencer, Creatives, Analytics และ Mar-Tech Solutions มายาวนานกว่า 9 ปี
ติดต่อเราตอนนี้! รับข้อเสนอสุดพิเศษเฉพาะแบรนด์ที่ต้องการทำการตลาดบน TikTok กับ Heroleads Asia เท่านั้น สนใจรายละเอียดและรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://heroleads.asia/ โทร. 02-038-5220