อัปเดตข่าวล่าสุด ! เกี่ยวกับอัลกอริทึม Google และการค้นหาในเดือนมิถุนายน 2024

อัปเดตข่าวเกี่ยวกับอัลกอริทึม Google และการค้นหาในเดือนมิถุนายน 2024

บทความน่าอ่าน

อัปเดตข่าวล่าสุด ! เกี่ยวกับ Google Algorithm และการค้นหาในเดือนมิถุนายน 2024

อย่างที่ทราบกันดีกว่า Google มักมีการปรับอัลกอริทึมอยู่เป็นประจำ แต่ไม่ได้มีการระบุช่วงเวลาที่แน่นอน ทำให้นักการตลาด, Specialist และเจ้าของธุรกิจต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดและปรับตัวให้ทันอยู่ตลอดเวลา เพราะการเปลี่ยนแปลง Google Algorithm มักส่งผลต่อแบรนด์ในหลายแง่มุม

โดยล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2024 Core Update Algorithm คือเรื่องของ Spam Update และการเผยแพร่ Video SEO Case Study ที่น่าสนใจ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้ Structured Data ที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำ Google SEO โดยตรง อีกทั้งยังมีการอัปเดตฟีเจอร์ต่าง ๆ รวมถึงการค้นหาที่น่าสนใจ เพราะฉะนั้นตามไปอัปเดตพร้อมกันเลย จะได้ไม่ตกขบวน !

 

1. Google แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ Structured Data ผ่าน Case Study

ลองจินตนาการดูว่าในหน้าการค้นหา หรือ SERPs (Search Engine Results Pages) ที่มีผลการค้นหาจำนวนมาก มีภาพ วิดีโอ และคอนเทนต์จากหลากหลายเว็บไซต์ การที่จะไดรฟ์ให้ Users คลิกเข้าเว็บไซต์ ชมวิดีโอ และทำให้ Google ‘เข้าใจ’ และมองว่าเนื้อหาบนเว็บไซต์ของแบรนด์มีคุณภาพและเพิ่มโอกาสโชว์ในหน้าการค้นหานั้นเป็นเรื่องที่ท้าทายไม่น้อย สิ่งนี้ทำให้แบรนด์และ SEO Specialist ต้องคิดและปรับกลยุทธ์อยู่บ่อยครั้งว่าจะทำอย่างไรให้เวิร์กที่สุด ?

 

อย่างที่กล่าวไปว่าไม่นานมานี้ Google ได้เผยข้อมูลกรณีศึกษาของ Vidio บริษัท OTT Media Services ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีการใช้ ‘Structured Data’ ผ่าน VideoObject Markup ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือการช่วยเพิ่ม Impression ของวิดีโอถึง 3 เท่า และเพิ่มการ Click วิดีโอเกือบ 2 เท่า บน Google Search

 

โดยเคสที่น่าสนใจนี้ ชี้ให้เห็นว่า Structured Data มีบทบาทสำคัญ แต่ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่าสิ่งนี้คืออะไร

 

Structured Data คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ?

อัปเดตข่าวเกี่ยวกับอัลกอริทึม Google และการค้นหาในเดือนมิถุนายน 2024

Structured Data คือข้อมูลที่ถูกจัดรูปแบบให้สามารถอ่านและเข้าใจได้โดยเครื่องมือค้นหา (ในกรณีนี้คือ Google) ผ่านการใช้มาตรฐาน Schema.org ซึ่งจะช่วยให้เครื่องมือค้นหาเข้าใจเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์มากขึ้น 

 

หากพูดในเชิงลึกลงอีกหน่อย Structured Data นั้น คือการเพิ่มโค้ดพิเศษ ที่มีการบอกข้อมูลเกี่ยวกับหน้าเพจและจัดกลุ่มเนื้อหาของเพจ ตามรูปแบบและคำศัพท์ที่ Google หรือ Schema.org กำหนดหรือแนะนำ เช่น @context, @type, “name”, contentUrl, thumbnailUrl ฯลฯ การทำแบบนี้จะส่งผลให้เว็บไซต์มีโอกาสปรากฏในผลการค้นหามากขึ้นและได้รับการแสดงผลในรูปแบบที่น่าสนใจ มีรายละเอียดที่มากขึ้น เช่น Rich Snippets, Knowledge Panels และ Carousel Results ที่อาจทำให้ผู้ค้นหาเข้ามา Interact มากกว่าเดิม

 

สรุปความสำคัญของ Structured Data แบบเข้าใจง่าย คือ

  • ช่วยให้ Google เข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งอาจส่งผลดีต่อการจัดอันดับ
  • ช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับผลการค้นหา ดึงดูด Users ให้เข้ามาคลิก
  • เพิ่มโอกาสในการแสดงผลพิเศษบน SERPs

 

URLs ที่มีความเสถียรและไม่หมดอายุ เป็นหนึ่งในกุญแจสู่ความสำเร็จ

จาก Case Study ยังมีการพูดถึง URLs และ CDNs หรือ Content Delivery Network — เครือข่ายของเซิร์ฟเวอร์ที่กระจายอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งทำงานร่วมกัน วิธีการทำงานคือ เมื่อผู้ใช้งานขอเนื้อหาจากเว็บไซต์ ระบบ CDNs จะเลือกเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ใกล้ผู้ใช้งานมากที่สุดในการส่งข้อมูล ทำให้การโหลดหน้าเว็บเร็วขึ้นและลดความหนาแน่นในการใช้งานของเซิร์ฟเวอร์หลัก 

 

โดยมีการบอกว่า CDNs บางตัว ใช้ URLs ที่หมดอายุอย่างรวดเร็วสำหรับไฟล์ Video และ Thumbnail ซึ่ง URLs เหล่านี้อาจทำให้ Google ไม่สามารถ Indexing (การเก็บรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากหน้าเว็บต่าง ๆ ในฐานข้อมูล Google ซึ่งทำให้ Google สามารถค้นหาและแสดงผลข้อมูลที่ตรงกับคำค้นหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ) หรือดึงไฟล์วิดีโอได้สำเร็จ นอกจากนี้ยังทำให้ Google เข้าใจ Interest ของผู้ใช้งานที่มีต่อวิดีโอได้ยากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปด้วย ประเด็นนี้ทำให้เห็นว่า CDNs และ URLs ที่หมดอายุทำให้เกิดปัญหาด้านการสร้าง Structured Data ได้

 

สำหรับกรณีศึกษาของบริษัท Vidio เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการดึงไฟล์ไม่สำเร็จ ในขั้นตอนการดำเนินการ มีการนำ URLs ที่เสถียรมาใช้กับไฟล์วิดีโอแต่ละไฟล์ ตรงตามที่ Google ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการใช้ URLs ที่เหมาะสม โดยแนะนำให้ใช้ URLs ที่มีความเสถียร และไม่ซ้ำกันในแต่ละวิดีโอ

 

ไฮไลต์อย่างสุดท้ายที่สำคัญจากเคสที่ยกมานี้ คือต้องเช็กให้มั่นใจว่า Google สามารถรวบรวมข้อมูล URLs และเข้าถึง Structured Data เมื่อพบเนื้อหาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมบนหน้าเว็บไซต์ได้ เพราะการใช้ 2 สิ่งนี้ร่วมกันจะให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มการมองเห็นได้ดีขึ้น นั่นเท่ากับว่าเป็นการเพิ่มแต้มต่อให้ธุรกิจได้ด้วย !

ดังนั้นแล้ว การทำ Structured Data จึงเป็นอะไรที่แบรนด์ และคนทำ SEO ไม่ควรละเลย และการปรับตัวเข้ากับ Google Algorithm ก็เป็นเรื่องจำเป็นเช่นกัน

 

2. จับตา ‘Spam Update’ ล่าสุด ในเดือนมิถุนายน 2024

อัปเดตข่าวเกี่ยวกับอัลกอริทึม Google และการค้นหาในเดือนมิถุนายน 2024

Google Algorithm ล่าสุดที่ถูกพูดถึงในวงกว้างและมีผลกระทบต่อการทำ SEO แน่นอน คือในเดือนมิถุนายน 2024 Google ได้ปล่อย Spam Update เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน และทำสำเร็จเสร็จสิ้นในวันที่ 27 มิถุนายน โดยการปรับปรุงอัลกอริทึมนี้จะโฟกัสไปที่เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหรือพฤติกรรมละเมิดกฎของ Google ได้แก่

 

  • Low-Quality or Duplicated Content (เนื้อหาคุณภาพต่ำหรือซ้ำซ้อน) : คอนเทนต์ที่มีเนื้อหาคุณภาพต่ำ ไม่ได้ให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ หรือคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาซ้ำซ้อน คัดลอกมาจากที่อื่น ๆ
  • Spammy Links (ลิงก์สแปม) : เว็บไซต์ที่ซื้อหรือขายลิงก์เพื่อเปลี่ยนแปลงอันดับในผลการค้นหา เช่น การให้สินค้าหรือจ่ายเงินให้เว็บอื่นใส่ลิงก์มายังเว็บของแบรนด์ เพื่อให้ Google มองว่าเว็บมีความน่าเชื่อถือ
  • Tricky Techniques (เทคนิคหลอกลวง) : วิธีการต่าง ๆ ที่หลอกผู้ใช้ เช่น การเปลี่ยนเส้นทางแบบซ่อนเร้น (Hidden Redirect) คือเมื่อคลิกลิงก์หนึ่งแต่กลับถูกพาไปยังอีกหน้าเว็บหนึ่งโดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัว หรือการใช้ Black Hat SEO สร้างความหลอกลวงอื่น ๆ
  • Automated Content (เนื้อหาที่สร้างโดยอัตโนมัติ) : เช่น เนื้อหาที่มีการสร้างจาก AI จำนวนหลาย ๆ บทความ โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของเนื้อหา แต่ทำเพื่อหวังปรับอันดับในผลการค้นหาโดยเฉพาะ

นอกจากการสกัดกั้นเนื้อหาที่ดังกล่าวแล้ว ในฝั่ง Google Search Central ยังบอกไว้ด้วยว่า เว็บไซต์ที่ละเมิดกฎอาจมีอันดับต่ำลงในหน้าการค้นหาหรืออาจไม่ปรากฏในหน้า Search อีกด้วย ดังนั้นหากแบรนด์รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงหลังการอัปเดต ควรเช็กให้ชัวร์ว่าได้ปฏิบัติตาม Policies และอย่าลืมทำคอนเทนต์ SEO ที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ

 

3. การทดสอบการให้คะแนนของผู้ขาย (Seller Ratings) แบบ Organic ในบางประเทศ 

อัปเดตข่าวเกี่ยวกับอัลกอริทึม Google และการค้นหาในเดือนมิถุนายน 2024

เรื่องน่าสนใจไม่แพ้ด้านอื่น ๆ คือ Google กำลังทดสอบการให้คะแนนผู้ขาย หรือ Seller Ratings แบบ Organic นอกสหรัฐอเมริกา โดยมีการทดสอบในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ประเทศออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร (UK) โดยฟีเจอร์นี้น่าติดตามและจับตามอง เพราะเว็บไซต์ของแบรนด์อาจจะมี Seller Ratings ได้โดยไม่ต้องซื้อโฆษณากับ Google อีกทั้งอาจเป็นการช่วยเพิ่ม Traffic การเข้าเว็บไซต์ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อธุรกิจ E-Commerce ได้

ลักษณะของ Seller Ratings

แบรนด์และลูกค้าจะเห็น Seller Ratings อยู่ในหน้า SERPs โดยจะโชว์อยู่ด้านล่างของผลการค้นหาแต่ละอัน และจะประกอบไปด้วย

  • คะแนนจาก 5 ดาว (เช่น 4.5 ดาว จาก 5 ดาว)
  • จำนวนรีวิวที่ธุรกิจได้รับ
  • ข้อมูลเพิ่มเติม เช่น เวลาจัดส่งเฉลี่ย (หากมีข้อมูลนี้)
  • ลิงก์เพื่ออ่านรีวิวล่าสุด

ธุรกิจจะได้รับฟีเจอร์นี้ได้อย่างไร และจะดูตรงไหนว่ามีคะแนนผู้ขายหรือยัง ?

แน่นอนว่าแบรนด์จะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมถึงจะมีฟีเจอร์นี้ได้ โดยจะต้องมีลักษณะดังนี้

 

  • Product Reviews Marked Up การใส่โค้ดหรือมาร์กอัปในรีวิวสินค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อให้ Google สามารถดึงข้อมูลรีวิวไปแสดงผลได้อย่างถูกต้องในหน้าผลการค้นหา ซึ่งแบรนด์สามารถทำมาร์กอัปรีวิวสินค้าได้เองบนเว็บไซต์ 

 

  • ระบบรีวิวที่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันทาง Google จะรวบรวม Seller Ratings จากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้และจากผู้ใช้บน Google เอง หากแบรนด์ของคุณยังไม่มีรีวิวมากนักหรือไม่มีฟีเจอร์ Seller Ratings เดิมอยู่แล้ว สามารถเริ่มต้นด้วยการใช้บริการต่าง ๆ เช่น Google Customer Reviews, Supported Review Partners หรือโปรแกรมอื่น ๆ ตามที่ Google แนะนำ

 

 

Google จัดอันดับผู้ขายโดยอ้างอิงจากอะไร ?

เชื่อว่าแบรนด์คงกำลังสงสัยข้อนี้กันอยู่แน่ ๆ ต้องบอกว่า Google ทำการจัดอันดับผู้ขายโดยอิงจากหลายแหล่งด้วยกัน ซึ่งรวมถึง 3 แหล่งสำคัญ คือ

 

  • Google Customer Reviews โปรแกรมฟรีที่รวบรวมรีวิวต่าง ๆ ของลูกค้าเอาไว้ 
  • Shopping Reviews สำหรับโดเมนร้านค้าของแบรนด์ ซึ่งรวมถึงรีวิวจากพาร์ตเนอร์ต่าง ๆ ของ Google นอกเหนือจากผู้ใช้ Google Search
  • Aggregated Performance Metrics ข้อมูลสรุป Performance เช่น ยอดขาย การคลิก การเข้าชมเว็บไซต์ ฯลฯ จากการวิจัยที่นำโดย Google เอง

ในอนาคตต้องมาลุ้นกันว่า Google จะทดสอบระบบนี้ที่ประเทศไหนต่อไป หรือถ้าฟีเจอร์นี้ได้ผลตอบรับดี จะถูกปรับใช้กันทั่วโลกหรือไม่

 

4. อัปเดต ! ปัญหาเกี่ยวกับการค้นหา พร้อมเกณฑ์การเปิดเผยต่อผู้ใช้งาน

อัปเดตข่าวเกี่ยวกับอัลกอริทึม Google และการค้นหาในเดือนมิถุนายน 2024

อีกประเด็นที่น่าสนใจ จาก Podcast ‘Search Off The Record’ ผู้เชี่ยวชาญของ Google ได้พูดคุยถึงวิธีจัดการกับปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของ Search Engine โดยเฉพาะในด้านการทำ Indexing และ Crawling รวมถึงเกณฑ์ในการประกาศให้สาธารณชนทราบเมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ 

 

โดยได้ย้ำว่าเคสส่วนใหญ่ Google Search ไม่ได้ประสบปัญหาการทำงาน แต่ปัญหาที่มีการรายงานมักเกิดจากการ Routing ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไม่ใช่จากโครงสร้างพื้นฐานของ Google เอง นอกจากนั้นยังบอกอีกว่า หากเกิดเหตุการณ์ผิดปกติขึ้น ทีม SRE หรือ Site Reliability Engineering จะได้รับการแจ้งเตือนเพื่อเข้าไปตรวจสอบและประเมินว่าปัญหาอยู่ในระดับที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ 

 

ใน Podcast ยังมีการเมนชันถึงวิธีการรับมือกับเคสที่ผ่านมา ทั้งยังบอกว่าสำหรับการประกาศให้ผู้ใช้งานได้ทราบถึงปัญหาต่าง ๆ นั้น Google จะพิจารณาประกาศเฉพาะปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานอย่างมีนัยสำคัญเท่านั้น ไม่ได้เปิดเผยเป็นสาธารณะทั้งหมด โดยจะคำนึงถึงระดับผลกระทบต่อประสบการณ์การใช้งาน เช่น หากผู้ใช้งานยังสามารถ Search และเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องออกแถลงการณ์ให้ทราบกัน

 

5. ผลลัพธ์แบบแบ่งหน้าในหน้า Google Search กลับมาแล้ว !

อัปเดตข่าวเกี่ยวกับอัลกอริทึม Google และการค้นหาในเดือนมิถุนายน 2024

ช่วงปลายมิถุนายนที่ผ่านมา Google ได้ยกเลิกการใช้การเลื่อนต่อเนื่องแบบไม่มีที่สิ้นสุด (Infinite Scroll) ในหน้า Google Search และกลับมาใช้ผลลัพธ์แบ่งหน้า (Paginated Results) แบบเดิมเป็นที่เรียบร้อย โดยเริ่มจาก Desktop ก่อน และสำหรับ Mobile จะตามมาภายหลัง หมายความว่าแทนที่ผู้ใช้งานจะเลื่อนหน้าจอลงเรื่อย ๆ เพื่อดูผลการค้นหาเพิ่มเติมแบบที่เคยทำ จะต้องใช้วิธีคลิกที่หน้าถัดไปแทน 

 

ข้อนี้ฟังแล้วดูอาจจะธรรมดา แต่หลายคนคาดว่าการปรับเปลี่ยนนี้อาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้งานของ User และอาจมีผลต่อ CTR ของเว็บไซต์ที่อยู่ในหน้าถัดไป เนื่องจากเว็บไซต์ที่อยู่ในหน้าถัดไปอาจมีคนคลิกเข้าชมน้อยลง ดังนั้นแบรนด์จึงต้องพยายามปรับปรุง SEO เพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับในหน้าแรก รวมถึงใช้วิธีการอื่น ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจ เช่น การใช้ภาพที่น่าสนใจ หรือการเขียนหัวข้อที่ดึงดูดใจ มารับมือให้ทันนั่นเอง

 

การอัปเดตและการเปลี่ยนแปลง Google Algorithm ในเดือนมิถุนายน 2024 แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ Google ในการปรับปรุงคุณภาพของผลการค้นหาและประสบการณ์ของผู้ใช้ แบรนด์จึงควรให้ความสำคัญกับการสร้างเนื้อหาคุณภาพสูง การใช้ Structured Data อย่างเหมาะสม และการปฏิบัติตามแนวทางของ Google เพื่อรักษาและปรับปรุงอันดับในผลการค้นหา

 

สำหรับแบรนด์ที่อยากทำ SEO อย่างมีประสิทธิภาพ Heroleads Asia มี SEO Specialist และรับทำการตลาดดิจิทัลแบบครบวงจรที่พร้อมเคียงข้างและช่วยให้คุณก้าวทันทุกการอัปเดตสำคัญ ปรึกษาเราได้ที่ https://heroleads.asia/ หรือโทร. 02-038-5220

 

อ้างอิง : Google Search Central

 

Heroleads Asia

Recent posts

SEO-On-Page_Oct-2024-Article-1_Blog

ทำไมหลายบริษัทยังเลือกที่จะทำการตลาดด้วย SEO ?

ทำไมหลายบริษัทย...
TikTok vs. Instagram Reels แพลตฟอร์ม Short Video ไหน ใช่กับธุรกิจ

เปรียบเทียบ TikTok vs. Instagram Reels แพลตฟอร์ม Short Video แบบไหน ใช่สำหรับธุรกิจกว่ากัน !

เปรียบเทียบ Tik...
ทำความรู้จักโฆษณา TikTok แบบเข้าใจง่ายในปี 2024

ตามให้ทันเกม ! ทำความรู้จักโฆษณา TikTok (Tiktok Advertising) แบบเข้าใจง่ายในปี 2024

ตามให้ทันเกม ! ...

ปรึกษาแผนการตลาด
กับผู้เชี่ยวชาญของเรา

กรอกข้อมูลให้เราติดต่อกลับ เพื่อรับคำแนะนำ และ Solution ที่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจคุณ พร้อมข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเริ่มต้นแคมเปญ