CPAS – Collaborative Ads ลูกเล่นใหม่ Facebook เพิ่มยอดขายธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
บทความน่าอ่าน
CPAS หรือ Collaborative Ads ชื่อนี้แม้แต่คนที่คลุกคลีอยู่ในแวดวงธุรกิจอีคอมเมิร์ซอาจจะยังไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไหร่ เพราะเป็นฟีเจอร์ใหม่ที่ Facebook เพิ่งจะปล่อยออกมาเมื่อไม่นานมานี้ แต่นับจากนี้เป็นต้นไป ต้องจำชื่อนี้ไว้ให้ดี ๆ นะครับ เพราะนี่คือเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจของคุณได้อย่างเหลือเชื่อ มาดูกันครับว่า ทำไมเราถึงกล้าพูดแบบนี้
CPAS คืออะไร?
CPAS ย่อมาจากคำว่า Collaborative Performance Advertising Solution หรือที่ Facebook ใช้ชื่อทางการว่า Collaborative Ads คือการที่แบรนด์สามารถสร้างแคมเปญโฆษณาโชว์สินค้าของตัวเองที่อยู่บนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ (อาทิ Lazada, Shopee) ในรูปแบบของ Dynamic Ads บน Facebook ได้ โดยที่สามารถเลือกโชว์โฆษณาให้คนที่สนใจตาม Target ที่ตั้งไว้ได้ด้วย
สำหรับแบรนด์ต่าง ๆ นี่เป็นวิธีที่ช่วยเพิ่ม conversion rate และช่วยลดขั้นตอนที่ซับซ้อนในการทำโฆษณา โดยการทำให้ทั้งหมดอยู่บนระบบเดียวกัน
ดังนั้นถ้าจะให้จำแบบง่าย ๆ CPAS ก็คือโฆษณาที่มีการ collaboration (ร่วมมือกัน) ระหว่างแบรนด์กับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ (retailers) นั่นเองครับ
CPAS ทำงานอย่างไร?
ยกตัวอย่าง ถ้าเราเป็นเจ้าของแบรนด์นาฬิกาผู้ชายที่มีสินค้าวางขายอยู่บนเว็บไซต์ retailers อย่าง Lazada หรือ Shopee หากมีลูกค้าเข้ามาดูสินค้า แต่ว่ายังไม่ตัดสินใจซื้อ เราสามารถสร้างโฆษณาตามติดพวกเขาไปบน Facebook ได้ ในรูปแบบของ dynamic ads โดย Lazada, Shopee จะสร้าง product catalogue segment และแชร์ให้เราผ่าน Facebook Business Manager เราสามารถใช้ catalogue นี้ สร้าง campaign โฆษณาใน account ของเราเอง
Collaborative Ads ของเราก็จะมีหน้าตาเหมือนกับรูปตัวอย่างด้านล่างนี้ครับ คือโชว์รูปนาฬิกาที่ลูกค้าคนนี้เคยเข้าไปดู และสามารถคลิกเข้าไปซื้อที่เว็บไซต์ของ retailers นั้น ๆ ได้เลยทันที…สะดวกอะไรอย่างนี้!
ทำไมธุรกิจถึงต้องใช้ CPAS?
ก็เพราะมันช่วยธุรกิจได้แบบเห็น ๆ นะสิ!
แบรนด์ : ลูกค้าเห็นแบรนด์ของเรามากขึ้น และมีโอกาสที่เราจะขายสินค้าได้มากขึ้น
งบประมาณ/การวางแผน : เราจะเห็นภาพได้ชัดเจนเลยครับว่า ลงทุนทำโฆษณาไปแล้ว มีคนเห็นและตามไปซื้อจริงเท่าไหร่ ทำให้สามารถวางแผนจัดสรรงบประมาณได้อย่างมีกลยุทธ์มากขึ้น
ในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นว่าแบรนด์ต่าง ๆ หันมาพึ่งการค้าขายบนอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มมากขึ้น เพราะเห็นว่าเป็นวิธีการลงทุนที่คุ้มค่ากว่าการสร้างเว็บไซต์ของตัวเอง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง และต้องมีคนคอยดูแลอยู่ตลอดเวลา
แต่ปัญหาคือ เมื่อเราทำโฆษณาควบคู่กันไป เราไม่สามารถรู้เลยว่า เงินโฆษณานั้นสุดท้ายแล้วมันทำให้คนกลับมาซื้อสินค้าของเราหรือไม่ หรือซื้อเป็นจำนวนเท่าไหร่ จึงยากต่อการวางแผนต่อไปว่าเราจะใช้เงินอย่างไรดี…ซึ่ง CPAS แก้ปัญหาเหล่านี้ให้เราได้
ธุรกิจแบบไหนเหมาะจะใช้ CPAS?
โฆษณาประเภทนี้เหมาะกับแบรนด์ที่ยังไม่มีช่องทางอีคอมเมิร์ซของตัวเอง และมีสินค้าวางขายอยู่บนเว็บไซต์ของ Lazada, Shopee อยู่แล้ว โดย Facebook ออกเครื่องมือตัวนี้มาก็เพื่อช่วยให้ทั้งสองฝ่ายสามารถทำแคมเปญ performance marketing ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Case Studies:
เพื่อให้เห็นว่ามันสามาถช่วยธุรกิจได้จริง ๆ ขอยกตัวอย่างแคมเปญที่เราทำให้กับลูกค้ารายหนึ่งซึ่งเป็นแบรนด์ขนมชื่อดังจากประเทศญี่ปุ่น ลูกค้าของเรารายนี้มี e-store อยู่บนเว็บไซต์ Lazada อยู่แล้ว เป้าหมายของเขาไม่ใช่แค่ยิงโฆษณาให้ตรงกลุ่ม แต่ยังต้องการ :
- ตัวเลขที่ชัดเจนเกี่ยวกับ conversion rate เพื่อให้รู้ว่าควรจะลงโฆษณากับสื่อไหน โดยอ้างอิงจากข้อมูลยอดขายที่เกิดขึ้นจริง
- รวบรวมข้อมูลอย่างมีระบบ และโฟกัสไปที่ยอดคำสั่งซื้อ
CPAS ตอบโจทย์ความต้องการทั้งหมดนี้ โดยการที่มันสามารถคอนเนคกับ Lazada ได้โดยตรง และเราสามารถ optimise แคมเปญได้ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการเพิ่มยอดขายออนไลน์ ขณะเดียวกัน ลูกค้าก็อาจเห็นโฆษณาแล้วไปซื้อ ณ ร้านค้าได้เช่นกัน
สรุป:
CPAS ไม่เพียงแต่ช่วยเช็ก conversion rate จากโฆษณาสู่ยอดขายบนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่เคยทำได้มาก่อน แต่ยังช่วยให้เราจัดการกับกระบวนการโฆษณาทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบได้ง่ายขึ้นด้วย
สนใจนำ CPAS ไปใช้กับธุรกิจของคุณ ลองคุยกับผู้เชี่ยวชาญของเรา เพื่อเลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจของคุณครับ